พยาธิในแมว ศัตรูตัวร้ายของเจ้าเหมียว

ป้องกันพยาธิไส้เดือน ก่อนลุกลามในช่องทางเดินอาหาร

img-info-b0

แหล่งอาศัย: พยาธิชนิดนี้อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของสัตว์ตระกูลแมว
พบได้: โดยทั่วไปพยาธิจะอาศัยอยู่ในทางเดินอาหารส่วนลำไส้เล็ก แต่ก็สามารถเดินทางไปในส่วนอื่นของร่างกายได้ เช่น ในหลอดเลือด ตับ ปอด หรือหลอดลม
ติดแมวโดย: สามารถเข้าสู่ร่างกายน้องแมวผ่านทางน้ำนมจากแม่ การกินไข่พยาธิโดยตรง หรือการกินสัตว์ขนาดเล็กที่มีตัวอ่อนพยาธิ
ผลร้าย: ทำให้แมว ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน หรือมีอาการทางระบบหายใจ และยังสามารถติดมาสู่คนได้

มารู้จักพยาธิไส้เดือน

พยาธิไส้เดือน (Ascarids Nematodes) พบบ่อยในทางเดินอาหารของน้องแมว โดยไม่ว่าจะเป็นน้องแมวที่อยู่ในช่วงอายุไหนก็สามารถติดพยาธิชนิดนี้ได้ ซึ่งมีได้หลากหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีลักษณะที่แตกต่างกัน รวมถึงการก่อโรคที่แตกต่างกัน เช่น พยาธิไส้เดือนในแมว (Toxocara cati) มีสีขาว ลักษณะกลมยาว ได้ตั้งแต่ 6 ถึง 10 ซ.ม. โดยประมาณ โดยอาศัยอยู่ในลำไส้เป็นหลัก หรือพยาธิไส้เดือนในสุนัข (Toxocara canis) ไข่ของพยาธิไส้เดือนนั้นค่อนข้างทนในสิ่งแวดล้อม โดยมีโอกาสสูงที่น้องแมวนักชิมอาจจะไปเลียกินไข่พยาธิโดยตรง

ปัจจัยเสี่ยงต่อการได้รับพยาธิไส้เดือน

พยาธิไส้เดือนมีการระบาดอยู่ทั่วโลก โดยไข่ของพยาธิไส้เดือนเป็นไข่ผนังหนา ทนต่อสิ่งแวดล้อมมาก ซึ่งน้องแมวที่มีความเสี่ยงสูง คือน้องแมวกลุ่มที่เลี้ยงนอกบ้านมากกว่าในบ้าน รวมถึงแมวที่ไม่ได้รับการถ่ายพยาธิเป็นประจำก็อาจมีพยาธิไส้เดือนสะสมอยู่ในร่างกายได้

พยาธิไส้เดือนติดได้หลายช่องทางและติดสู่คนได้

น้องแมวสามารถติดพยาธิไส้เดือนได้จากหลากหลายช่องทาง ทั้งจากการกินไข่พยาธิเข้าไปโดยตรง โดยตัวอ่อนของพยาธิจะไปอยู่ที่ตับ ปอด และหลอดลม เมื่อน้องแมวเริ่มมีอาการไอ น้องแมวก็จะกลืนตัวอ่อนเข้าไปสู่ระบบทางเดินอาหารอีกครั้ง ทำให้พยาธิเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยอยู่ในลำไส้เล็ก มีการสืบพันธุ์และผลิตไข่ออกมากับอุจจาระออกสู่สิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ยังสามารถติดพยาธิได้ผ่านทางการกินสัตว์ตัวกลางที่มีตัวอ่อนของพยาธิอยู่ เช่น หนู ไส้เดือน แมลงสาบ และยังสามารถติดจากแม่สู่ลูกผ่านทางน้ำนมได้ด้วย และพยาธิไส้เดือนสามารถติดต่อสู่คนได้ จากการกินสิ่งปนเปื้อนไข่พยาธิ หรือเนื้อสัตว์ที่มีตัวอ่อนพยาธิที่ไม่ผ่านการปรุงสุก

อาการเมื่อมีพยาธิไส้เดือนในร่างกายทั้งแมวและคน

น้องแมวที่มีพยาธิไส้เดือน พบได้ตั้งแต่ไม่มีอาการ ไปจนถึงมีอาการรุนแรงถึงชีวิต หากแมวโต ได้รับเชื้อก็อาจแสดงอาการไม่รุนแรงเท่าในแมวเด็ก ในน้องแมวโตอาจพบเพียงอาการอาเจียน ส่วนน้องแมวเด็กอาจพบอาการรุนแรงได้ โดยอาการที่พบ เช่น ตัวเล็ก โตช้า ขนแห้ง ท้องเสียถ่ายเหลว อาเจียน ไปจนถึงอาการทางระบบหายใจ

ส่วนอาการที่เกิดในคนขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตัวพยาธิไปถึง ส่วนมากแล้วมักจะไม่แสดงอาการ และไม่สามารถบ่งชี้การติดพยาธิได้จากการดูอาการภายนอกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

การรักษาและการป้องกันไม่ให้ติดพยาธิ

หากพบว่าน้องแมวมีอาการดังที่กล่าวข้างต้น ก็ถือว่ามีความเสี่ยงจะติดโรคพยาธิไส้เดือน ควรพาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอาการ โดยการรักษาสามารถทำได้โดยการเลือกใช้โปรแกรมที่ครบทุกการปกป้องปรสิตเพื่อน้องแมวโดยเฉพาะ ควรป้องกันให้ครอบคลุมทั้ง ไรหู หมัด เห็บ พยาธิหนอนหัวใจ พยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือน และพยาธิร้ายอื่นๆที่เป็นอันตรายต่อน้องแมว อย่างไรก็ตามเจ้าของต้องควบคุมสิ่งแวดล้อม โดยการเก็บอุจจาระน้องแมวเป็นประจำเพื่อลดการปนเปื้อนของไข่พยาธิ หรือการเลี้ยงน้องแมวในบ้านก็สามารถลดโอกาสการได้รับไข่พยาธิได้

โดยเจ้าของสามารถขอคำปรึกษาจากคุณหมอเพิ่มเติม สอบถามการป้องกันปรสิตทั้งภายนอกและภายในด้วยโปรแกรมใหม่ครบทุกการปกป้อง เพื่อน้องแมวโดยเฉพาะ ได้ที่โรงพยาบาลสัตว์ หรือคลินิกใกล้บ้านได้เลย เพราะ NEXT COMBO CAT อยากเห็นน้องแมวสุขภาพดีและอยู่กับเจ้าของไปนานๆ