พยาธิในแมว ศัตรูตัวร้ายของเจ้าเหมียว

โรคพยาธิหนอนหัวใจ ภัยเงียบจากยุงที่เสี่ยงต่อชีวิตน้องแมว!

img-info-b0

แหล่งอาศัย :มักมียุงเป็นพาหะนำตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจมาสู่สัตว์เลี้ยง
พบได้ :สามารถพบได้ที่หัวใจ ปอด และหลอดเลือดของโฮสต์
ติดแมวโดย :ติดต่อผ่านทางพาหะ โดยมียุงเป็นพาหะหลัก
ผลร้าย :อาจพบอาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจลำบาก อาเจียน โดยพยาธิจะทำให้เกิดการอักเสบที่หลอดเลือดและปอดอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดการอุดตันของหนอนพยาธิที่หลอดเลือดและหัวใจ หัวใจล้มเหลว

โรคพยาธิหนอนหัวใจมาคู่กับแบคทีเรียที่น่ากลัว

โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมว (Heartworm) เกิดจากเชื้อปรสิตจำพวกพยาธิตัวกลม (Dirofilaria immitis) ซึ่งน้องแมวมีโอกาสติดเชื้อนี้น้อยกว่าสุนัข แต่เมื่อเชื้อเพียงไม่กี่ตัวติดเข้าสู่ร่างกายของน้องแมว ถือว่าเป็นอันตรายมาก เมื่อเทียบกับขนาดตัวของน้องแมวที่เล็กกว่าสุนัข

และอีกหนึ่งความอันตรายที่แฝงมากับพยาธิหนอนหัวใจคือ แบคทีเรียที่มักมาเป็นแพ็คคู่กับพยาธิหนอนหัวใจ ซึ่งหากเกิดการตายของพยาธิหนอนหัวใจ อาจสามารถกระตุ้นให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงที่บริเวณปอด รวมถึงอวัยวะอื่น ๆ ได้ และยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการรักษา ส่งผลให้อาจเกิดอาการช็อกจากปฏิกิริยาแพ้รุนแรงเฉียบพลัน อันส่งผลถึงชีวิตได้

ไม่อยากเสี่ยงติด ต้องระวังยุง!

โรคพยาธิหนอนหัวใจระบาดหนักในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มักมากับช่วงฤดูที่มีสัตว์พาหะจำพวกยุงเยอะ ไม่ว่าจะเป็นน้องแมวที่อาศัยในพื้นที่ปิดหรือพื้นที่เปิดก็เสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายเพียงโดนยุงกัด

“ยุง” ตัวกลางนำพยาธิหนอนหัวใจมาสู่ทั้งแมวและคนได้

การติดต่อเกิดจากยุงเป็นตัวกลางสำคัญ! โดยยุงจะได้รับตัวอ่อนพยาธิมาจากการดูดกินเลือดสัตว์ตระกูลสุนัขที่ติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจมา และพร้อมเข้าสู่ร่างกายน้องแมวผ่านการดูดเลือด ทำให้ได้รับเชื้อต่อกันมา

แต่ที่อันตรายกว่านั้น คือคนสามารถได้รับเชื้อพยาธิหนอนหัวใจเข้าสู่ร่างกายผ่านการโดนยุงกัดเช่นกัน

อาการน้องแมว

อาการที่พบมีได้หลากหลาย มีตั้งแต่แสดงอาการน้อย เช่น อาการหายใจลำบาก ไม่กินอาหาร อาเจียน น้ำหนักลด หรือหากติดเชื้อรุนแรง จะแสดงอาการหนัก อ้าปากหายใจ เป็นลม ชัก ไปจนถึงอาจพบท้องมานจากภาวะน้ำในช่องท้องได้ หรือบางตัวไม่แสดงอาการ แต่จู่ๆ ก็เสียชีวิตแบบเสียบพลันทันที

การรักษาและป้องกัน

หากน้องแมวที่บ้านมีอาการผิดปกติตามดังกล่าว แนะนำให้พามาพบสัตวแพทย์เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษา ทั้งนี้ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวที่ได้รับการรับรองโดยเฉพาะ และยาสำหรับใช้รักษาสุนัขก็มีความเป็นพิษในแมว ดังนั้นการป้องกันคือหัวใจหลักสำหรับการจัดการโรคพยาธิหนอนหัวใจด้วยการใช้โปรแกรมที่มีคุณสมบัติป้องกันพยาธิหนอนหัวใจเป็นประจำสม่ำเสมอทุกเดือน

โดยเจ้าของสามารถขอคำปรึกษาจากคุณหมอเพิ่มเติม สอบถามการป้องกันปรสิตทั้งภายนอกและภายในด้วยโปรแกรมใหม่ครบทุกการปกป้อง เพื่อน้องแมวโดยเฉพาะ ได้ที่โรงพยาบาลสัตว์ หรือคลินิกใกล้บ้าน เพราะ NEXT COMBO CAT อยากให้น้องแมวอยู่กับคุณไปนานๆ