เคล็ดลับดูแลน้องหมา

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้าภัยร้าย...ใกล้สุนัข และแมว!!
หยุดโรคพิษสุนัขบ้า หยุดคร่าชีวิตสัตว์เลี้ยง และคนที่เรารัก

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ผ่านหูหลาย ๆ คนมามาก และมักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวกับสัตว์เลี้ยงหรือคนใกล้ชิดของเรา แน่นอนว่าโรคพิษสุนัขบ้านี้ไม่ได้เกิดแค่กับเฉพาะสุนัขเท่านั้น แต่กับแมวเองก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า วันนี้เราได้รวบรวม 10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้ามาให้แล้ว มีอะไรบ้างตามมาดูกัน

1. โรคพิษสุนัขบ้า คืออะไร

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนเกิดจากเชื้อเรบีส์ไวรัสซึ่งก่อโรคในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพบได้ทั้งในสัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่าโดยความสำคัญของโรคนั้น เนื่องมาจากไวรัสนี้จะเข้าไปโจมตีที่ระบบประสาทส่วนกลาง และเมื่อแสดงอาการแล้วก็มักจะทำให้คน และสัตว์เสียชีวิตในเวลาต่อมา

2. ผลกระทบ และความสำคัญของโรคพิษสุนัขบ้า

องค์กรอนามัยโลก หรือ WHO ได้จัดให้โรคพิษสุนัขบ้าเป็น 1 ในโรคติดต่อที่อันตรายที่สุดในโลก จากการประเมินพบว่า โรคพิษสุนัขบ้าได้คร่าชีวิต 160 คนต่อวัน หรือ 1 คนทุก 9 นาที โดยคิดเป็นร้อยละ 40 จากทั้งหมด โรคพิษสุนัขบ้านั้นมีการระบาดมากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก และมักพบมากในชุมชนแออัด โดยเคสที่พบร้อยละ 95 นั้นถูกรายงานในทวีปเอเชีย และแอฟริกา กลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าได้ประเมินความสูญเสีย ในเชิงเศรษฐศาสตร์ในแต่ละปีอยู่ที่ 8.6 พันล้านดอลล่าสหรัฐ แต่ถึงอย่างนั้น โรคพิษสุนัขบ้าก็เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ 100% จากการฉีดวัคซีน และการตะหนักถึงความอันตรายของโรค

3. การติดต่อของโรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้าติดต่อระหว่างสัตว์สู่สัตว์ และสัตว์สู่คนผ่านทางการสัมผัสเชื้อใน “น้ำลาย” ของสัตว์ที่ติดเชื้อ มักผ่านทางการกัด ข่วน เลียที่ผิวหนังที่เปราะบางหรือบริเวณเยื่อเมือกต่าง ๆ โดย “สุนัขเป็นสัตว์ที่พบว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ามากที่สุด” และคิดเป็นสาเหตุร้อยละ 99 ของการตายจากโรคพิษสุนัขบ้าในคนอีกด้วย สัตว์ป่านั้นก็เป็นอีกแหล่งรังโรคที่มีโรคพิษสุนัขบ้าในยุโรปตะวันออก จะพบว่าสัตว์ป่าที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าก็คือ แรคคูน และสุนัขจิ้งจอก ในอเมริกาเหนือจะพบเป็นสกั๊งค์ และค้างคาว ในแอฟริกาและเอเชียพบในสุนัขจิ้งจอก และพังพอน ส่วนในละตินอเมริกาพบในค้างคาว นอกจากนี้ในเปอโตริโก และหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียนก็พบในพังพอน และที่เกาหลีใต้กับประเทศข้างเคียงก็พบมากในแรคคูน ถึงแม้ว่าการติดต่อจะสามารถติดจากสัตว์ป่าสู่สัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงสู่สัตว์เลี้ยง และสัตว์เลี้ยงสู่คนได้ แต่ก็สามารถป้องกันการติดต่อของโรคพิษสุนัขบ้า ได้จากการฉีดวัคซีนป้องกัน

4. อาการโรคพิษสุนัขบ้า

เมื่อสัตว์ที่ติดเชื้อได้แสดงอาการแล้ว มักจะทำให้สัตว์เสียชีวิตในเวลาต่อมาเกือบ 100% ทั้งหมด จากการวินิจฉัยโรคด้วยการตรวจเพียงแค่พื้นฐานอาจยังไม่แม่นยำ และไม่น่าเชื่อถือมากพอ ซึ่งอาการที่พบได้มากที่สุดก็คือ

· พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
· เกิดการอัมพาตอย่างรวดเร็วโดยไม่รู้สาเหตุ
· แสดงพฤติกรรมไม่เป็นสุข เช่น ดูว้าวุ่น ดุร้าย หรืออาจซึมอ่อนแรง

สำหรับในคนจะพบอาการ ปวดศีรษะ มีไข้ กังวล และมีภาวะไวต่อการรับรู้ความรู้สึกตรงจุดที่ใกล้บริเวณรอยแผลที่ถูกกัด โดยส่วนใหญ่นั้นอาจแยกแยะเพิ่มเติมได้จากการขยายของม่านตาภาวะไวต่อการรับเสียงและแสง การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ รวมไปถึงอาการชัก เห็นภาพหลอน และกลัวน้ำ กล่าวคือจะมีอาการเหยียดเกร็งของกล้ามเนื้อเมื่อสัมผัสหรือมองเห็นน้ำ อาการที่เกิดขึ้นทั้งในคนและสัตว์ มักจะเริ่มได้จากการเกิดอัมพาต และไปถึงขั้นโคม่า แล้วเสียชีวิตในที่สุด

5. การวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้า

สามารถเริ่มได้จากการซักถามประวัติของคนหรือสัตว์ที่ถูกกัดว่าสัตว์ที่กัดมานั้นมีประวัติเสี่ยงการติดโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ โดยสังเกตอาการภายนอกเบื้องต้นของสัตว์ที่กัด เช่น ดูกระวนกระวาย มึนงง

6.วิธีรับมือเบื้องต้น เมื่อรู้ว่าถูกสัตว์ที่ติดโรคพิษสุนัขบ้ากัด

หากสงสัยว่าเราหรือสัตว์เลี้ยงได้มีการสัมผัส ใกล้ชิดหรือถูกกัดโดยสัตว์ที่มีความเสี่ยงหรือเป็นโรคพิษสุนัขบ้า การรีบไปพบแพทย์โดยทันทีเพื่อป้องกันอย่างเร่งด่วนอาจช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ ซึ่งขั้นตอนแรกของการปฐมพยาบาลเบื้องต้นคือ ล้างด้วยน้ำสะอาดปริมาณมาก ๆ ตามด้วยการถูสบู่ประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นให้ใช้ผลิตภัณฑ์ซ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70% หรือทิงเจอร์ไอโอดีน หลังจากนั้นก็จะเป็นหน้าที่การรักษาของแพทย์ที่จะพิจารณาการรักษาในขั้นต่อไป ร่วมด้วยการให้วัคซีนป้องกันเพื่อไม่ให้มีการพัฒนาของเชื้อหลังการสัมผัสเชื้อ

7. โรคพิษสุนัขบ้าป้องกันได้หรือไม่??

โรคพิษสุนัขบ้าสามารถป้องกันได้ 100% หากได้รับการฉีดวัคซีนที่ถูกต้อง และมีการตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันโรค ซึ่งก็สามารถป้องกันหรือลดเชื้อให้หมดไปด้วยการขยายขอบเขตการได้รับวัคซีนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะกับในสัตว์ เช่น สัตว์ป่า สุนัขและแมว เป็นต้น และอาจฉีดวัคซีนในปศุสัตว์หากพบว่ามีโอกาสเสี่ยงสูงได้เช่นกัน

8. ความรุนแรงของโรคพิษสุนัขบ้า

องค์การอนามัยโลกได้ประมาณว่าคนที่เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้ามีถึง ปีละ 59,000 คนหรือ 160 คนต่อวัน โดยในทุกปีจะมีผู้ได้รับการฉีดวัคซีนหลังถูกกัดมากกว่า 29 ล้านคน นับว่าเป็นภัยคุกคามจากโรคพิษสุนัขบ้าที่ร้ายแรงที่สุดในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น แอฟริกา และเอเชียที่การทำวัคซีนป้องกันยังไม่ทั่วถึง อีกทั้งการเข้าถึงการรักษาหลังถูกกัดก็ยังมีจำกัด ไม่เพียงเท่านั้นโรคพิษสุนัขบ้ายังเป็นโรคที่ถูกละเลยไม่มีการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง อาจเนื่องมาจากระบบสาธารณสุขไม่เพียงพอ ทำให้ผู้เสียชีวิตส่วนมากต้องเสียชีวิตที่บ้าน

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว แม้จะคิดว่าปลอดโรคพิษสุนัขบ้า แต่การโยกย้ายถิ่นฐานของสัตว์ก็นับว่าเป็นความเสี่ยงของการระบาดโรคพิษสุนัขบ้าได้เช่นเดียวกัน

9. สัตว์เลี้ยงควรฉีดวัคซีนป้องกัน ตั้งแต่อายุเท่าไร??

ในประเทศไทยแนะนำให้สุนัขและแมวเริ่มทำวัคซีนป้องกันได้ตั้งแต่อายุ 3 เดือน กระตุ้นวัคซีนซ้ำภายใน 2-4 อาทิตย์ หลังจากวัคซีนเข็มแรก จากนั้นควรฉีดกระตุ้นเป็นประจำทุกปี

10. ข้อแนะนำหลังฉีดวัคซีนให้สัตว์เลี้ยง

· สังเกตอาการแพ้วัคซีนที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 15-30 นาที และดูอาการต่อที่บ้านอย่างน้อย 24ชม. (ถ้าพบอาการผิดปกติ ให้รับมาพบแพทย์ทันที)
· อาการแพ้วัคซีน เช่น ซึม มีไข้ อาเจียน น้ำลายไหล หน้าบวม ผื่นแดง หอบ หายใจลำบาก หรือถ้ามีอาการแพ้รุนแรงมีโอกาสเสียชีวิตได้เช่นกัน (แต่พบได้น้อย)
· ควรงดอาบน้ำหลังฉีดวัคซีนอย่างน้อย 7 วัน

ทั้งนี้ โปรแกรมการฉีดวัคซีนอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม และควรปฏิบัติตามคำแนะนำหรือมาปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติม

รับคำปรึกษาจากคุณหมอที่โรงพยาบาลสัตว์ใกล้บ้าน https://www.spectrafordog.com/TH/clinic.html
หรือจะแอดไลน์มาพูดคุยสอบถามกันได้ที่ @Spectrafordog ทางเรามีข้อมูลคอยให้คำปรึกษาอยู่ข้าง ๆ กันไปตลอดทุกช่วงวัยแน่นอน

เรื่องที่คุณน่าจะสนใจ

5 ประสบการณ์ตรงโดยสัตว์แพทย์ ในการดูแลน้องหมาแบบครบจริง
คุยเรื่องน้องหมา ประสาคุณหมอ
5 ประสบการณ์ตรงโดยสัตว์แพทย์
ในการดูแลน้องหมาแบบครบจริง
พฤติกรรมแปลกของน้องหมาที่อยากให้คนเลี้ยงเข้าใจ
เคล็ดลับดูแลน้องหมา
พฤติกรรมแปลกของน้องหมาที่อยากให้คนเลี้ยงเข้าใจ
บ่อยครั้งที่เราเห็นน้องหมามีพฤติกรรมแปลก ๆ จากน้องหมาของเราเองหรือในคลิปที่มีการแชร์กัน ซึ่งบางพฤติกรรมก็ยากที่จะเข้าใจและชวนให้ขำ แต่บางพฤติกรรมก็อาจจะเกิดจากความผิดปกติของน้องหมาก็ได้
เคล็ดลับดูแลน้องหมา
4 โรคต้องระวังที่มาพร้อมกับฝน
เมื่อหน้าฝนมาถึงก็ทำให้เรารู้สึกเย็นสบายอยู่ไม่น้อย แต่มันก็มาพร้อมกับโรคภัยต่างๆ มากมาย ซึ่งโรคเหล่านี้ไม่ได้เกิดกับคนเพียงอย่างเดียว เพราะมันยังสามารถเกิดกับน้องหมาของเราได้เช่นกัน
คัดลอก URL แล้ว