ศัตรูตัวร้ายของน้องหมา

ไรขี้เรื้อนแห้ง (Sarcoptic Mange Mites)

ไรขี้เรื้อนแห้ง (Sarcoptic Mange Mites)

ไรขี้เรื้อนแห้ง (Sarcoptic Mange Mites)

แหล่งอาศัย : อาศัยอยู่บนผิวหนังของสุนัข

พบได้: บริเวณผิวหนังสุนัข

ติดสุนัขโดย : การติดจากสุนัขตัวอื่นที่เป็นโรคนี้

ผลร้ายกับสุนัขและเจ้าของ : ทำให้สุนัขคัน มีสะเก็ด ขนร่วง และยังสามารถติดสู่คนได้

 

ข้อมูลทั่วไป

ไรขี้เรื้อนแห้ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sarcoptes scabiei ตัวไรชนิดนี้มีขนาดเล็ก เป็นสาเหตุให้เกิดอาการคัน ขนร่วง มีสะเก็ดรังแค ที่สำคัญคือสามารถเกิดได้กับน้องหมาทุกช่วงอายุ ทุกสายพันธุ์ และทุกฤดูกาล  โดยไรขี้เรื้อนแห้งนั้นจะขุดผิวหนังชั้นนอก (superficial) เป็นโพรงเพื่อสืบพันธุ์วางไข่ และกินเศษผิวหนังเป็นอาหาร โดยมักพบได้บ่อยในบริเวณที่มีขนน้อย เช่น ตามขอบใบหู ใต้ท้อง ข้อศอกและข้อเท้าของขาหลังด้านนอก นอกจากนี้ยังพบว่าโรคไรขี้เรื้อนแห้งในสุนัขถือเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยก่อให้เกิดโรคหิดในคน 

ไรขี้เรื้อนแห้งจัดอยู่ในกลุ่มแมลงที่เป็นปรสิตภายนอกขนาดเล็ก เช่นเดียวกับไรขี้เรื้อนเปียก แต่ตัวเต็มวัยจะมีลักษณะเป็นทรงกลม ไม่มีตา มีขาสี่คู่ ไรขี้เรื้อนแห้งเพศเมียมีขนาดเล็กมาก ประมาณ 0.25-0.35 มิลลิเมตรเท่านั้น เพศผู้มีขนาดประมาณ 2 ใน 3 ของเพศเมีย ซึ่งสามารถมองเห็นผ่านทางกล้องจุลทรรศน์ โดยไรขี้เรื้อนแห้งจะอยู่ในโพรงใต้ผิวหนัง และทำ การวางไข่ในนี้อีกด้วย ไข่ของไรขี้เรื้อนจะฟักออกมาโดยใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ และไรที่ฟักออกมาก็จะกินเซลล์ผิวหนัง และของเหลวต่าง ๆ จากตัวน้องหมา

 

การติดต่อ

การติดต่อมักเกิดขึ้นโดยการสัมผัสกันของน้องหมาที่มีไรขี้เรื้อน และไม่ได้ป้องกันไรหมาเป็นประจำ โดยไรขี้เรื้อนจะหาบริเวณ ผิวหนังที่บาง เพื่อง่ายในการขุดโพรงผิวหนัง ซึ่งมักจะเป็นบริเวณขอบใบหู เท้า ข้อเท้า และข้อศอก ปัญหา ของไรขี้เรื้อนแห้งก็คือ การทำให้เกิดการคันอย่างรุนแรง ซึ่งในบางช่วงจะคันมากขึ้นเป็นพิเศษ ประกอบกับทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน เช่น เชื้อแบคทีเรียหรือยีสต์ หากเป็นโรคนี้นานอาจทำให้ผิวหนังหนาขึ้นอีกด้วย สิ่งสำคัญคือหากทำการป้องกันหรือรักษาจะต้องทำพร้อมกันทุกตัวในบ้าน

โดยสุนัขที่มีพฤติกรรมชอบลุยพื้นหญ้า ชอบออกไปเที่ยวนอกบ้าน หรือมีโอกาสพบปะกับน้องหมาตัวอื่น ๆ โดยเฉพาะสุนัขจรจัด จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการติดไรขี้เรื้อนแห้งมากกว่าปกติ ดังนั้นจึงต้องระวังตรงจุดนี้ไว้ด้วยนะ

 

อาการ

    สุนัขที่เป็นโรคไรขี้เรื้อนแห้งจะแสดงอาการคันตามตัว อาการคันจะเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งขนร่วงและเริ่มพัฒนาเป็นสะเก็ดแผลหนาตามมา โดยรอยโรคที่สามารถพบสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ

1.ระยะเฉียบพลันมาก รอยโรคจะคล้ายคลึงอาการแพ้ที่ผิวหนัง

2.ระยะเฉียบพลัน จะพบลักษณะของผื่นราบสลับนูนแดงปะทุขึ้นมา ซึ่งเป็นผลให้เกิดสะเก็ดเลือดบนผิวหนัง และทำให้ขนร่วงตามมา

3. ระยะเรื้อรัง จะพบว่าผิวหนังหนาขึ้น และมีสีเข้มขึ้นกระจายทั่วบริเวณรอยโรค และพบการหนาตัวเป็นปื้น ๆ บริเวณศอกและข้อเท้า

นอกจากนี้สุนัขบางตัวอาจไม่พบการพัฒนาความผิดปกติที่ผิวหนังถึงแม้ว่าจะมีอาการคันมากก็ตาม ในขณะที่สุนัขที่มีปัญหาอื่นร่วมด้วย เช่น ปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน จะพบรอยโรคขยายกว้างแต่มักมีอาการคันค่อนข้างน้อย

 

การรักษา

    ก่อนการรักษา สัตวแพทย์ต้องวินิจฉัยยืนยันก่อนว่าน้องหมาเป็นโรคขี้เรื้อนแห้งจริง โดยแนวทางการวินิจฉัยสามารถทำการวินิจฉัยได้โดยการขูดตรวจผิวหนังเพื่อตรวจหาตัวไร ไข่ หรือมูลของไร โดยขูดผิวหนังชั้นนอกจากนั้นนำไปส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อหาตัวไรขี้เรื้อนแห้ง 

นอกจากนี้ยังสามารถวินิจฉัยได้จากหลักฐานอื่น ๆ เช่น ประวัติ อาการ และการทดสอบ pinnal-pedal response ( อาการคันที่ควบคุมไม่ได้ เกาบริเวณสะโพกเมื่อมีการเกาที่ใบหู) โดยสุนัขที่เป็นไรขี้เรื้อนแห้งจะให้ผลบวกต่อการทดสอบนี้ นอกจากนี้อาการที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยการรักษาไรก็เป็นตัวบ่งชี้ได้เช่นกัน

ส่วนแนวทางการรักษาสุนัขที่เป็นโรคไรขี้เรื้อนเปียกที่มีอาการแบบทั่วร่าง สามารถทำได้โดยการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อไปควบคุมจำนวนไรขี้เรื้อนเปียกให้กลับมาอยู่ในสภาวะที่พบในสุนัขปกติ หรือลดลงมาในจำนวนที่ร่างกายสามารถควบคุมได้ โดยผลิตภัณฑ์รักษาทางระบบ (Systemic therapy) ที่สามารถใช้จัดการกับไรขี้เรื้อนเปียก

โดยทั่วไปแล้ว การรักษาโรคขี้เรื้อนแห้งทางระบบรวมถึงผลิตภัณฑ์ในรูปแบบหยดหลังนั้นพบว่าให้ประสิทธิภาพดีกว่าการใช้เพียงผลิตภัณฑ์เฉพาะที่ โดยในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์รักษาแบบหยดเพื่อรักษาไรขี้เรื้อนแห้งหลายชนิด โดยสัตวแพทย์จะเลือกใช้ตามความเหมาะสม

นอกจากนี้ ในการรักษาโรคไรขี้เรื้อนแห้งหากพบการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังร่วมด้วย ควรทำการรักษาร่วมกับการใช้แชมพูที่มีฤทธิ์กำจัดเชื้อแบคทีเรียหรือแชมพูสุนัขที่มีประสิทธิภาพในการลดการอักเสบของต่อมไขมัน เพื่อช่วยขจัดผิวหนังที่เป็นรังแค และคราบได้ง่ายขึ้น อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะแบบกินในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียทั่วร่าง 

 

การป้องกัน

    โรคไรขี้เรื้อนแห้งเป็นโรคอันตรายสำหรับน้องหมา แต่สามารถป้องกันได้ง่ายมาก เพียงแค่เจ้าของสุนัขเลือกใช้โปรแกรมป้องกันปรสิตที่ครบกว่าที่ครอบคลุม ทั้ง การกำจัดเห็บ หมัดสุนัข ไรขี้เรื้อนเปียก ไรขี้เรื้อนแห้ง พยาธิหนอนหัวใจ และพยาธิร้ายอื่นๆ เช่น พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า เป็นประจำทุกเดือนตามที่สัตวแพทย์แนะนำ และพาไปพบสัตวแพทย์เป็นประจำสม่ำเสมอใกล้บ้าน เพื่อปรึกษาหารือร่วมกัน นอกจากนี้การดูแลสุนัขให้มีสุขภาพดีแข็งแรง ให้อาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรักษาความสะอาด โดยเฉพาะไม่ปล่อยให้ตัวสุนัขสกปรกหรืออับชื้นเป็นระยะเวลานานๆ จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคไรขี้เรื้อนแห้งได้

ปกป้องน้องให้ครบกว่าทุกการป้องกัน ทั้งเห็บ หมัด ไร พยาธิหนอนหัวใจ และพยาธิร้ายอื่น ๆ ด้วยโปรแกรมป้องกันปรสิตที่ครบกว่าที่สัตวแพทย์แนะนำ

คัดลอก URL แล้ว